วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
ดำเนินการจัดทำโครงการ
ชื่อโครงการ
สุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัว
หลักการและเหตุผล
สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่อยู่อาศัยน่าอยู่และอยู่ร่วมกันกับ ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด สุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริม พัฒนาการ
และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์
ทางกาย สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
และครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ อีกทั้งผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้เด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม
สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม
อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สุขภาพแบ่งเป็น3ประเภทคือพฤติกรรมการป้องกันโรค preventive Health Behavior คือการปฏิบัติของบุคคลเพื่อมิให้โรคนั้นเกิดขึ้น ได้แก่ การออกกำลังกาย
การรับประธานอาหารที่มีประโยชน์
การไม่สูบบุหรี่ การคาดเข็มคัดนิรภัยเมื่อขับขี่รถยนต์ เป็นต้น
พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย illness behavior คือการปฏิบัติที่บุคลกระทำเมื่อมีอาการผิดปกติ ได้แก่ การเพิกเฉย
การถามเพื่อนผูกเกี่ยวกับอาการของตน การแสวงหาการรักษาพยาบาลการหลบหนีจากสังคม
เป็นต้นพฤติกรรมที่เป็นบทบาทของการเจ็บป่วย Sick Role Behavior คือการปฏิบัติที่บุคคลกระทำหลังจากได้ทราบผลการวินิจฉัยโรคแล้ว เช่น
การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย
การลดหรือเลิกกิจกรรมที่ทำให้อาการของโรคยิ่งมีมากขึ้น
ดังนั้นคณะผู้จัดจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัวเพราะต้องการให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดี
เพื่อเป็นการนำความรู้ที่ได้จากวิชาที่เรียน
นำไปแบ่งปันให้กับชุมชนหรือผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองเกิดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อแบ่งปันความรู้ให้ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวันในครอบครัวได้
เนื้อหา / หลักสูตร
โครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัวคณะผู้จัดทำจะให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
อาทิเช่น ความสะอาด สุขอนามัย ขั้นตอนการล้างมือ รวมถึงการให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องของสุขภาพอนามัย
เด็กวัยเรียนเป็นช่วงวัยของการมีสุขภาพที่ดีเด็กมีพลังที่จะเรียนรู้และปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
ได้แก่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร
การพักผ่อนนอนหลับ การออกกำลังกาย
และการป้องกันโรคเพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี
เป้าหมาย
- เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยประมาณ
24
คน
- เป้าหมายเชิงคุณภาพจากการเข้าร่วมโครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัวผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเข้าใจถึงสุขภาพอนามัยที่ดี
วันเวลาและสถานที่
วันอาทิตย์
ที่
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 10.00 – 13:00 น.
ณ
ศูนย์สุขภาพชมชนเสรีภาพ – อ่อนนุชร่วมใจ70/1 เขตประเวศ แขวงประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
รูปแบบการจัดโครงการ / เทคนิค
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ
มีการให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่ดี
- บรรยายเกี่ยวกับสุขอนามัย
- สาธิตวิธีการล้างมือและเต้นประกอบเพลงการล้างมือ
- สอนทำแซนวิช
แผนการดำเนินงาน
งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 1200 บาท
ค่าใช้สอย รวมทั้งสิ้น700 บาท
ค่าอาหาร เป็นเงิน 500 บาท
ค่าอาหารว่าง
เป็นเงิน 200
บาท
ค่าวัสดุ รวมทั้งสิ้น 500 บาท
ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 50 บาท
ค่าฟิวเจอร์บอร์ดและอุปกรณ์ตกแต่ง
เป็นเงิน 180 บาท
ค่ารถ
เป็นเงิน 270 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้
การติดตามและประเมินโครงการ
- จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
- จากการประชุมวิเคราะห์และการประเมินผลโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวชื่นนภา
เพิ่มพูล ประธาน
2. นางสาวสิริกัลยา
บุญทนแสนทวีสุข รองประธาน
3. นางสาวเกตุวรินทร์
นามวา กรรมการ
4. นางสาวบงกช
เพ่งหาทรัพย์ กรรมการ
5. นางสาวพรประเสริฐ
กลับผดุง กรรมการ
6. นางสาวยุคลธร
ศรียะลา กรรมการและเลขานุการ
…………………………………………
(นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล)
ประธานโครงการ
……...…………………………………
(อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด)
ที่ปรึกษาโครงการ
แบบติดตามประเมินความพึงพอใจ
ตัวอย่างแผ่นพับให้ความรู้ผู้ปกครอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
รูปแบบการจัดทำโครงการสามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลายๆวิชา อีกทั้งนำไปใช้เมื่อต้องจัดโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเมื่อเป็นครูได้อีกด้วย และการจัดทำแผ่นพับที่ดีควรมีที่มาใส่ด้วยเผื่อผู้ที่สนใจจะหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ปรากฏในแผ่นพับ
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่อง มีคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาทำให้นักศึกษามีแนวทางการทำงานที่ถูกต้อง