วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
ตัวอย่างเนื้อหาที่เรียน
* โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ *
ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับทั่งโลก
ต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการจัดการศึกษา
การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปในแต่ละประเทศ
โดยที่แต่ละประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน
โครงการ
การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการแม่สอนลูก
-
ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
-
จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
-
ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
-
ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของ
ประเทศ อิสราเอล
-
มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
-
เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
-
ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
-
เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
ได้นำแนวทางของ
โปรแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
-
เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น
ภาษา การพัฒนา
กล้ามเนื้อ และสติปัญญา
-
มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย
ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่
ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
-
ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
-
ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
-
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
-
กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา
เป็นต้น
โครงการ
การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี
โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี
ค.ศ. 1930
สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว
จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
-
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการ
โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ
เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย
โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย
และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
โครงการ
“พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง
3
ขวบ รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า
“พ่อแม่นักการศึกษา”
พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น
การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพ
การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก
การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า
(Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health
Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5
ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก
ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น
ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี
มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้
สำคัญเหมือนบัตรประชาชน
นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ
โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก
โครงการ
บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ
บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
- หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว
2
เล่ม
- หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
- ของชำร่วยสำหรับเด็ก
เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
- แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
- บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
- รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
- รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
โครงการ
บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
เมื่อปี
พ.ศ. 2543
ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า
ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก
เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี
“หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง
โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย
ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ
4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว
และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
วิดิโอเพิ่มเติมการเรียน
Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน หนังสือเล่มแรก Book Start 03 09 59
คำถามท้ายบท
1.
ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
เป้าหมาย คือ ให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการ การให้การศึกษาเด็กอย่างถูกต้อง เพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตเจริญงอกงามในสังคม
2.
นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองในทุกๆเดือน มีเอกสารที่มีเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้นำกลับไปศึกษาด้วยตัวเองอีกด้วย
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
1.พัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย
2.คุณลักษะที่พึงประสงค์ในเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองจะได้มีการสังเกตคุณลักษะที่ควรเกิดขึ้นกับเด็กแต่ละช่วงวัย หากเกิดล้าช้าจะได้หาทางแก้ไขและป้องกัน
3.สุขภาพอนามัยที่ดี ผู้ปกครองจะได้ระมัดระวังเรื่องสุขภาพของเด็กปฐมวัย และอนามัยภายในครอบครัว
4.การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย แนะนำวิธีปฏิบัติต่อเด็กปฐมวัยทั้งทางบวกและทางลบ
5.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นการเสริมการเรียนรู้นอกจากที่โรงเรียน โดยให้ผู้ปกครองทำกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เองที่บ้าน
4.
การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ส่งผล เมื่อผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในพัฒนาการ ความต้องการ และอื่นๆเกี่ยวกับเด็กผู้ปกครองก็จะมีความเข้าใจเด็กมากขึ้น ส่งผลให้มีการอบรมหรือมีวิธีการแก้ไขปัญหา รับมือกับเด็ก เข้าใจถึงปัญหาและสามารถแก้ไขได้มากขึ้น
5.
นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
ใช้การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน เช่น การส่งข้อมูลทางไลน์ ที่ทำได้ทั้งภาพ วิดิโอ ง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
กิจกรรมต่างๆที่โครงการทั้งในและต่างประเทศเสริมความรู้ ความเข้าใจ ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง ข้อมูลโครงการทั้งในและต่างประเทศจึงเป็นฐานสำคัญในการแนะนำให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองสามารถหาความรู้เสริมได้ด้วยตนเอง
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการหาสื่อเพิ่มเติมนอกจากสื่อสิ่งพิมพ์มาให้นักศึกษาได้ดู จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น